ปัญหาความเลื่อมหล้ำ
ความเหลื่อมล้ํามักจะเป็นการกล่าวถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ที่มีโอกาสกับผู้ที่ขาดโอกาส ซึ่งโอกาสในที่นี้คือ โอกาสในการเข้าถึง ต่อรองและจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในสังคม ความเหลื่อมล้ําบางครั้ง ก็เป็นเหตุ บางครั้งก็เป็นผลในตัวเอง ที่เป็นเหตุเพราะความเหลื่อมล้ําจึงทําให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรือ เนื่องจากคนเกิดมา "ไม่เท่ากัน" จึงก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําตามมา การพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นประชาชนมีงานทําและมีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น รายได้เฉลี่ยของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาความยากจนลดลงและประชาชนเข้าถึงบริการทางสังคมและ สาธารณูปโภคอันเป็นปัจจัยจําเป็นพื้นฐานในการดํารงชีวิตได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ความไม่เท่าเทียมกันใน โอกาสของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โอกาสของคนในเมืองกับชนบทในการเข้าถึงบริการสาธารณะหลักที่มี คุณภาพยังมีช่องว่างมากและการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ในสังคมยังไม่เท่าเทียมกันซึ่งเป็นปัญหาที่สะท้อนถึงความ เหลื่อมล้ําที่เป็นป็ญหาเชิงโครงสร้างในสังคมไทยทําให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความเดือดร้อน จากความไม่ทัดเทียมของความเติบโตทางเศรษฐกิจและความแตกตางกันในการเป็นเจ้าของทรัพยากร ส่งผล ต่อรายได้ที่แตกต่างกันมากระหว่างกลุ่มคนในสังคม อันสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมของโอกาส ในการเข้าถึง ทรัพยากรและสิทธิพื้นฐาน รวมทั้งความไม่เปคนธรรมดานอํานาจต่อรอง
สถานการณ์ความเหลื่อมล้ํา
1. ความเหลื่อมล้ําด้านรายได้หรือการกระจายรายได้ สะท้อนจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค
ด้านรายได้ (Gini coefficient) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในระดับ 0.48 - 0.49 และรายได้กระจุกตัวอยู่กับ
คนกลุ่มเล็ก ๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรวยที่สุดร้อยละ 10 ถือครองรายได้ถึงร้อยละ 39.3 ของรายได้ทั้งหมด
ขณะที่กลุ่มคนจนที่สุดร้อยละ 10 ถือครองรายได้เพียงร้อยละ 1.6 ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น จึงทําให้ความ
แตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มคนรวยที่สุดกับกลุ่มคนจนที่สุดห่างกันถึง 25.2 เท่า
2. ความเหลื่อมล้ําด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยกลุ่มประชากรร้อยละ 10 ที่มีการใช้ จ่ายสูงที่สุดมีมาตรฐานการดํารงชีวิตสูงกว่ากลุ่มประชากรร้อยละ 10 ที่มีการใช้จ่ายต่ําที่สุด ประมาณ 11.0 เท่า นอกจากนี้ ยังมีประชากร 8.4 ล้านคน (คนจน) ที่ได้รับสารอาหารและสินค้าอื่น ๆ ที่เป็นสิ่งจําเป็น พื้นฐานในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการดํารงชีวิตซึ่งมีมาตรฐานการดํารงชีวิตที่แย่ที่สุดในสังคมไทย
3. ความเหลื่อมล้ําด้านสินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์ทางการเงินกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มเล็ก ๆ โดยสะท้อนจากเงินออมในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจําธนาคารพาณิชย์ที่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่ม คนจํานวนน้อย กล่าวคือบัญชีเงินฝากที่มีวงเงินเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียงประมาณร้อยละ 0.1 ของ จํานวนบัญชีทั้งหมด แต่มีวงเงินฝากสูงถึงร้อยละ 46.5 ของวงเงินฝากทั้งหมดในขณะที่บัญชีเงินฝากขนาด เล็กวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท มีถึงร้อยละ 99.9 ของจํานวนบัญชีทั้งหมด แต่มีวงเงินฝากเพียง ร้อยละ 53.5 ของวงเงินฝากทั้งหมด
4. ความเหลื่อมล้ําด้านการถือครองที่ดิน ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ําในการถือครองที่ดินสูงมาก กล่าวคือที่ดินที่มีเอกสารสิทธิกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มเล็ก ๆ โดยกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 20 ที่มีการถือครอง ที่ดินมากที่สุด มีสัดส่วนการถือครองที่ดินสูงกว่ากลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 20 ที่มีการถือครองที่ดิน น้อยที่สุด คิดเป็น 325.7 เท่า โดยกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ20 ที่ถือครองที่ดินมากที่สุด มีสัดส่วนพื้นที่ถือครอง ที่ดินสูงถึงร้อยละ 79.9 ของพื้นที่ทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 20 ที่ถือครองที่ดินน้อยที่สุด มีสัดส่วนพื้นที่ถือครองที่ดินเพียงร้อยละ 0.3 ของพื้นที่ทั้งหมด เท่านั้น
2. ความเหลื่อมล้ําด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยกลุ่มประชากรร้อยละ 10 ที่มีการใช้ จ่ายสูงที่สุดมีมาตรฐานการดํารงชีวิตสูงกว่ากลุ่มประชากรร้อยละ 10 ที่มีการใช้จ่ายต่ําที่สุด ประมาณ 11.0 เท่า นอกจากนี้ ยังมีประชากร 8.4 ล้านคน (คนจน) ที่ได้รับสารอาหารและสินค้าอื่น ๆ ที่เป็นสิ่งจําเป็น พื้นฐานในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการดํารงชีวิตซึ่งมีมาตรฐานการดํารงชีวิตที่แย่ที่สุดในสังคมไทย
3. ความเหลื่อมล้ําด้านสินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์ทางการเงินกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มเล็ก ๆ โดยสะท้อนจากเงินออมในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจําธนาคารพาณิชย์ที่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่ม คนจํานวนน้อย กล่าวคือบัญชีเงินฝากที่มีวงเงินเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียงประมาณร้อยละ 0.1 ของ จํานวนบัญชีทั้งหมด แต่มีวงเงินฝากสูงถึงร้อยละ 46.5 ของวงเงินฝากทั้งหมดในขณะที่บัญชีเงินฝากขนาด เล็กวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท มีถึงร้อยละ 99.9 ของจํานวนบัญชีทั้งหมด แต่มีวงเงินฝากเพียง ร้อยละ 53.5 ของวงเงินฝากทั้งหมด
4. ความเหลื่อมล้ําด้านการถือครองที่ดิน ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ําในการถือครองที่ดินสูงมาก กล่าวคือที่ดินที่มีเอกสารสิทธิกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มเล็ก ๆ โดยกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 20 ที่มีการถือครอง ที่ดินมากที่สุด มีสัดส่วนการถือครองที่ดินสูงกว่ากลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 20 ที่มีการถือครองที่ดิน น้อยที่สุด คิดเป็น 325.7 เท่า โดยกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ20 ที่ถือครองที่ดินมากที่สุด มีสัดส่วนพื้นที่ถือครอง ที่ดินสูงถึงร้อยละ 79.9 ของพื้นที่ทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 20 ที่ถือครองที่ดินน้อยที่สุด มีสัดส่วนพื้นที่ถือครองที่ดินเพียงร้อยละ 0.3 ของพื้นที่ทั้งหมด เท่านั้น