Yellow-Red Electricity Lightning

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

ใบงานที่ 3 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560
https://www.isranews.org/isranews/51376-amnesty-51376.html










พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้

8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)

✦หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต  การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง แฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

✏ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ



3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

✈ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเอง

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
✒โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก



5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)

➥กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย


6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)






➜ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

  • โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
  • โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
  • เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
➼กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด
8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)
⤗ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย



    กรณีศึกษาการทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
    ใช้นามสกุล "จันทร์โอชา" เปิดเฟซขายนาฬิกา ที่แท้โจร ปอท.บุกรวบ
    กรณีศึกษาการทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560

    ใช้นามสกุล "จันทร์โอชา" เปิดเฟซขายนาฬิกา ที่แท้โจร ปอท.บุกรวบ





    เวลา 10.00 น. วันที่ 31 ส.ค. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) พร้อมด้วย พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ร่วมกับ พ.ต.อ.ขวัญชัย พัฒรักษ์ ผกก.3 บก.ปอท.
    แถลงการจับกุมนายทัดภูมิ หรือ นัท ไชยกุลวัฒนา อายุ 23 ปี หลังใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Surinya JanOcha” หลอกขายสินค้าออนไลน์โดยใช้นามสกุลของนายกรัฐมนตรีมาแอบอ้างเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีเหยื่อหลงเชื่อสั่งสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้าจริงเป็นจำนวนมาก มูลค่าความเสียหายหลายแสนบาท


    พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ภายหลังมีผู้เสียหายแจ้งร้องทุกข์กับ ปอท.ว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Surinya JanOcha หรือ สุรินยา จันทร์โอชา ใช้รูปโปรไฟล์เป็นหญิงสาววัยรุ่น ได้หลอกขายนาฬิกามือสองตามโพสต์การซื้อขาย โดยมีราคาเรือนละ 2,000-3,000 บาท ถูกกว่าราคาท้องตลาด ซึ่งมีเหยื่อหลงเชื่อกว่าร้อยราย เมื่อสั่งซื้อโอนเงินเสร็จก็จะบล็อกตัดขาดช่องทางการติดต่อ
    พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อมา เจ้าหน้าที่ กก.3 บก.ปอท.สืบทราบเบาะแสที่อยู่ผู้ต้องหา พบว่าพักอาศัยอยู่ที่ อ.เมือง จ.เลย จึงนำกำลังจับกุมได้ที่บ้านพัก จากการสอบถามผู้ต้องหาให้การยอมรับสารภาพว่า ตนเองได้นำนามสกุลนายกรัฐมนตรี มาใช้หลอกขายของ โดยมีเจตนาให้เหยื่อเข้าใจว่า มีความเกี่ยวกับตัวนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างถึงว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งเหยื่อเองก็ไม่ได้สอบถามอะไร


    “ขอฝากเตือนประชาชนว่า การซื้อของนั้นอย่าใจร้อน ขอให้ตรวจสอบข้อมูลผู้ขายจากชื่อสกุลบนเล่มบัญชีก่อน ก็จะพบข้อมูลการโกง” รอง ผบก.ปอท. กล่าว

    พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ฉบับเต็ม